วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มังกรคู่สู้สิบทิศ

มาแจ้งชื่อหนังสือไว้ก่อน หนังสือเรื่องนี้เป็นเรื่องยาว อีกทั้งเป็นเรื่องโปรดของผม
ซึ่งทำเว็บเกี่ยวกับหนังสือทั้งที จะไม่มีเรื่องนี้ได้ยังไงล่ะครับ

มาเขียนต่อแล้วครับ

โค่วจง และฉีจื่อหลิง สองอันธพาลน้อยแห่งเเมืองหยางโจว ได้บังเอิญพบเคล็ดวิชาอมตะ เป็นเคล็ดวิชาที่สืบทอดกันมานาน แต่ไม่มีผู้ใดตีความได้ ในยุคนั้นมีสี่ตระกูลขุนนางชั้นสูง ซึ่งครองความเป็นใหญ่ และมียอดฝีมือทั้งในทำเนียบ และนอกทำเนียบ ต่างก็อยากได้คำภีร์เล่มนี้ อวี้เหวินฮั่วจี๋ เป็นหนึ่งในตระกูลขุนนางชั้นสูงและรับตำแหน่งหน้าที่สูงมีอำนาจมาก ได้เดินทางมาค้นหาคำภีร์และเมื่อทราบว่าคัมภีร์ได้ตกอยู่ในมือของ โค่วจงและฉีจื่อหลิง จึงได้ออกตามล่า ทั้งสองได้พบกับชอนกุนบี ศิษย์ของหนึ่งในสามสุยอดฝีมือแห่งยุคและเกิดความผูกพันฉันแม่ลูก และได้ช่วยชีวิตคนทั้งสอง จนต้องสละชีวิตของตนเอง เมื่อทั้งสองไร้ที่พึ่งกลับบังเอิญค้นพบความลับของเคล็ดวิชาอมตะโดยบังเอิญ ทำให้ชีพจรและร่างกายได้ปรับตัวขนานใหญ่อย่างคาดไม่ถึง ทำให้เป็นฐานในการฝึกปรือวิทยายุทธอย่างก้าวกระโดด

บิดเล่นๆ เป็นรูบิค


คะแนนที่ได้รับ 74 คะแนน

1. เนื้อหา การดำเนินเรื่อง ความสนุกสนาน 40 คะแนน
2. รูปเล่ม ขนาด ความสะดวกในการอ่าน 9 คะแนน
3. ความสวยงามของปก การใช้ฟอนต์ สีฟอนต์ ของเนื้อหา 9 คะแนน
4. ประโยชน์ที่นักอ่านได้รับ 8 คะแนน
5. ราคาขาย เปรียบเทียบกับเนื้อกระดาษ คุณภาพของเนื้อหา 8 คะแนน




เนื้อเรื่อง
รูบิค ประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 1974 ที่ประเทศฮังการี โดย ศาสตรจารย์สาขาสถาปนิก และประติมากรชื่อ เออร์โน รูบิค (Erno Rubik) โดยมีลักษณะเป็นลูกบาศก์ขนาด3 x 3 มีส่วนประกอบย่อยๆ 26 ชิ้น มีสีทั้งหมด 6 สี สามารถหมุนได้รอบทิศ ส่วนประกอบที่หมุนนี้ทำให้การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ

ในปี ค.ศ. 1979 บริษัทไอดีลทอยส์(Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อทำการจำหน่ายทั่วโลก และได้มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติที่งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองนูร์น แบร์ก และ กรุงปารีส

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1980 บริษัทไอดีลทอยส์ ได้เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็น "ลูกบาศก์ของรูบิค" (Rubik's cube) ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ลูกบาศก์ได้รับความนิยมอย่างสูงและได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมของยุคนั้น

ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 บริษัทไอดีลทอยส์ได้แพ้คดีการล่วงละเมิดสิทธิบัตร ฟ้องร้องโดยแลร์รี นิโคลส์ Larry Nichols ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิซิกิ เทรุโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับลูกบาศก์ของรูบิค นายอิชิกิ จึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน

การหมุนรูบิค สามารถสลับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด (8! x 381) x (12! X 2121)/2 = 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ (ประมาณ 43 ล้าน ล้าน ล้าน ) แต่รูปแบบที่มีมากนั้น สามารถแก้ไขได้ภายในการบิด 29 ครั้ง หรือน้อยกว่า

การแข่งขันมีการจัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันนี้คือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจากนครลอสแองเจอลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาทีใน ค.ศ. 2004 สหพันธ์ลูกบาศก์โลก ได้จัดทำมาตรฐานใหม่ โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแตคแมท (Stackmat timer)

เนื้อหาถัดมาเป็นการสอนการหมุนตั้งแต่เริ่มต้น จนได้ครบทั้ง 6 ด้าน เนื้อหาส่วนนี้ผมไม่ขออธิบายแล้วกัน เพราะเป็น Climax ของหนังสือเล่มนี้ ให้ผู้ที่สนใจไปหาซื้อหนังสืออ่านกันเองแล้วกัน เป็นการสนับสนุนผู้จัดทำหนังสือด้วย หรือสามารถเข้าไปศึกษาการเล่นได้จาก http://www.thailandcube.com/

สถิติที่ดีที่สุดของไทย เป็นนักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนหอวัง ชื่อ
ต้าร์ กิตติกร ตั้งสุจริตธรรม
best 9.83 วินาที
Average 13.63 วินาที

เทคนิคการบิดเร็ว
1. บิดช้าๆ (แต่ชัวร์)
ให้หาเวลาเฉลี่ยของตัวเอง แล้วบวกเวลาเฉลี่ย 50% เช่น เวลาเฉลี่ย 20 วินาที + 10 วินาที = 30 วินาที แล้วควบคุมตัวเองให้บิดให้ได้พอดีเวลา 30 วินาที
2. ก่อนบิด ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ที่สุด
โดยปกติแล้ว ก่อนแข่งขันจะให้เวลาสำรวจ 15 วินาที โดยก่อนบิดต้องรู้ให้ได้ว่าจะสร้าง Cross แบบไหน เริ่ม F2L หรือ Corner แรกแบบไหน
3. หลับตา การหลับตาเป็ฯเทคนิคช่วยฝึกจำ โดยฝึกหลับตาแล้วบิดทีละขั้น เช่น หลับตาบิดให้ได้ Cross เป็นต้น
4. ปรับ Cube ให้เหมาะกับตนเอง
5. ทำความเข้าใจสูตร
อาจจะประยุกต์สูตร 2 สูตรที่ต่อเนื่องกัน ให้เป็น 1 สูตร
6. จับเวลาตัวเองทุกวัน
7. บิดในที่ชุมชน เพื่อลดความประหม่าเวลาแข่งขัน
8. ขยัน ฝึกบิดให้มากที่สุด
9. ไม่ยึดติด อย่าคิดว่าสตรที่เราใช้อยู่ดีที่สุดเสมอไป ปรับเปลี่ยน ค้นหาให้เจอ แล้วเวลาจะดีขึ้น

ท้ายเล่มมีสูตรการหมุนเป็นตัวอักษรต่างๆ อันนี้เหมาะกับคนที่เล่นได้ครบทุกหน้าแล้วอยากจะทำอะไรที่มากกว่านั้นครับ

รูปเล่ม
จำนวนหน้า: 79 หน้า
ขนาดรูปเล่ม: 146 x 210 x 5 มม.
น้ำหนัก: 115 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ สลับสี่สีบางหน้า
ชนิดกระดาษ: กระดาษปอนด์
ISBN: 9789743070686
ราคาขาย: 99 บาท
ผู้เขียน: ชมรมรูบิคไทย

คำวิจารณ์ของเจ้าของ Blog
เป็นงานเขียนที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มมาก คือผู้ที่สนใจการหมุนรูบิคนั่นเอง ในอดีตผมเคยสนใจตั้งแต่ยังเด็ก เพราะเห็นพี่ข้างบ้านมีไว้ที่บ้าน แต่ของพี่เขาเสียแล้ว เวลาหมุนมันจะหลุดออกมา หลังจากนั้นได้มีความนิยมอีกครั้งในสมัยที่ผมเรียนมหาวิทยา ผมได้ขอให้รุ่นน้องคนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยสอนผมเล่น หัดอยู่ 1 สัปดาห์กว่าจะเล่นเป็น แต่สูตรที่น้องเขาสอนนั้นจะมีข้อเสียอยู่หลายอย่าง เพราะมันไม่แน่นอนเท่าไร คือต้องหมุนไปเรื่อยๆ ในบางช่วงจนกว่าจะได้ กากบาท หรือรูปปลา ดังนั้นเวลาที่หมุนได้นั้นจึงไม่ค่อยดีหลังจากนั้นก็ไม่ได้เล่นมานานมาก จนกระทั่งปี 52 นี้ผมเริ่มเห็นมีการวางขายมากขึ้น น้องๆ หลานๆ มีกันหลายคน แต่เล่นกันไม่ได้สักคน ผมจึงมาฝึกเล่นใหม่เพราะจำไม่ได้เสียแล้ว แต่คราวนี้หมุนเท่าไรก็ไม่ได้เสียที

พอผมเห็นหนังสือเล่มนี้ที่ร้าน SE-ED ผมจึงหยิบขึ้นมาดูทันที และเริ่มดูสูตรการหมุน แล้วรู้สึกสะดุดใจกับเวลาที่คนอื่นๆ ทำได้ นั้นเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น มีเสียงดังขึ้นในสมองผมทันที โอ้ พระเจ้า ทำได้ไง เมื่อก่อนผมทำได้สถิติเร็วสุดยัง 3 นาทีกว่าๆ (ซึ่งตอนนี้ทำไม่ได้แล้ว จำได้แค่ 2 แถวเต็ม) แล้วพออ่านประวัติของ คุณวาลย์ - ชัชวาลย์ จารุวัฒนกุล และน้องริว ธีธัช จารุวัฒนกุล (บุตรชาย) รวมถึง ต้าร์ กิตติกร ตั้งสุจริตธรรม ซึ่งทำให้ผมทึ่ง จึงตัดสินใจซื้อหนังสือเล่มนี้ทันที เพื่อมาฝึกฝนอีกครั้ง ซึ่งที่ผมเขียนอยู่นี้ก็สามารถหมุนได้อีกครั้ง ด้วยสูตรใหม่ที่ได้จากหนังสือ ทำเวลาได้ประมาณ 3 นาที ซึ่งคงต้องฝึกฝนอีกนานจึงจะหมุนได้เร็วขึ้น

เกริ่นมาซะยาว มาเข้าประเด็นดีกว่า การดำเนินเนื้อหา นั้นอ่านแล้วคล้ายๆ หนังสือเรียนของวิชากีฬาทั่วไป คือ มีประวัติ และวิธีการเล่น ประวัติของบุคคลที่เล่นได้ดีในกีฬานั้นๆ ซึ่งถ้าจะนำไปเปรียบเทียบกับหนังสือแนวอื่นคงวัดกันยาก เพราะเป็นหนังสือเฉพาะทาง เพราะคนที่ต้องการฝึกฝนย่อมเห็นว่ามีคุณค่า แต่สำหรับบุคคลทั่วไปอาจจะมองข้ามไปเลย คะแนนที่ผมให้นั้นผมมองจากมุมมองคนทั่วไป จึงทำให้ได้คะแนนไม่มากเท่าไรนัก แต่สำหรับตัวผมเองผมว่าหนังสือนี้ดีมากเลย(ซื้อไปแล้วนี่ครับ) แม้ภรรยาจะบอกว่าซื้อทำไมซื้อลูกบิดก็มีสูตรแถมแล้ว แต่ผมดูสูตรที่แถมมาผมว่าหมุนยากเพราะสูตรเขายาว และไม่มีคำอธิบายด้วย (สูตรที่ผมเคยเห็นคือที่แถมมากับลูกละ 25 - 35 บาท) ตอนนี้ที่ซื้อมาลูกละ 150 บาท แต่ไม่ได้ดูสูตรแล้ว เพราะใช้สูตรตามหนังสือเล่มนี้แหละครับ

สูตรการหมุนรูบิค
พอดีเจอคลิปสอนการหมุนของ ต้าร์ กิตติกร ตั้งสุจริตธรรม จึงนำมาฝากครับ

ข้อความค้นหาสำคัญ Keyword
รูบิค Rubik ลูกบิด 6 สี ลูกบาศก์ ลูกบาศก์บิดได้ ลูกบาศก์หมุนได้ ลูกบิดหมุนได้ รูบิคไทย ไทยแลนด์รูบิค Thailand Rubik ไทยรูบิค รูบิคไทย สถิติคนไทยรูบิค คิว rubik cube rubik's cube บิดเล่นๆ เป็นรูบิค เทคนิคการบิดเร็ว thaibook review book review thaibook-review thaibook-reviews thai book review

วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

พระไตรปิฎก

ผมได้เขียน Blog พระไตรปิฎก เพื่อให้ผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปศึกษา อ่านเพิ่มเติมความรู้กันได้ครับ
เนื้อหาอาจจะยังไม่สมบูรณ์แต่จะทยอย ทำครับ

http://pratripidok.blogspot.com/